วัน - เวลาทำการ :
วันจันทร์ - วันศุกร์ เวลา 09:00 - 17:00 น.
วัน - เวลาทำการ :
วันจันทร์ - วันศุกร์ เวลา 09:00 - 17:00 น.

สัญลักษณ์ประจำชาติภูฏาน

สัญลักษณ์ประจำชาติภูฏาน
August 26, 2019 by Wow Together Travel

สัญลักษณ์ประจำชาติภูฏาน

ธงชาติ
ธงชาติ
  • เพลงชาติ : เพลงชาติของภูฏานแต่งขึ้นอย่างเป็นทางการในปี ค.ศ.1966 เนื้อความท่อนแรกเพลงชาติของภูฏานแปลความได้ว่า “ในแผ่นดินมังกร แดนสนไซเปรสแดงทางทิศใต้ ขอพระมหากษัตริย์ผู้ทรงทำนุบำรุงแผ่นดินและพระศาสนา จงทรงพระเจริญยิ่งยืนนานเทอญ”

  • ธงชาติภูฏาน ท่านมายุม โชยิง วังโม โดร์จี ได้คิดประดิษฐ์ธงชาติภูฏานขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1947 และในปี ค.ศ. 1956 ก็ได้ปรับเปลี่ยนธงใหม่จนมีรูปลักษณ์ดังเช่นในปัจจุบัน

  • สีเหลือง ครึ่งบนของธงชาติ หมายถึง อำนาจของพระมหากษัตริย์ เป็นสีที่แสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองทั้งทางโลกและทางธรรม

  • สีส้ม ครึ่งล่างของธงชาติ หมายถึง การปฏิบัติธรรมและความเลื่อมใสและศรัทธาของชาวภูฏานที่มีต่อศาสนาพุทธ

  • มังกรที่อยู่ตรงกลางของธงชาติ หมายถึง ประเทศดรุกยุล มีความหมายว่าดินแดนแห่งมังกรสายฟ้า ตัวมังกรมีสีขาวบริสุทธิ์ อันเป็นการแสดงออกถึงความจงรักภักดีของคนทุกเชื้อชาติ ทุกภาษาที่อยู่ในประเทศ ท่าทีที่มังกรกำลังอ้าปากคำรามนั้น แสดงออกถึงความมีอำนาจน่าเกรงขามของเหล่าพระผู้เป็นเจ้าทั้งชายและหญิงที่ปกป้องภูฏาน

ตราสัญลักษณ์
ตราสัญลักษณ์

       ตราแผ่นดินภูฏาน ตราแผ่นดินของภูฏานเป็นรูปวงกลม ทำเป็นรูปดอกบัวรองรับวัชระและดวงแก้ว สองข้างขนาบด้วยมังกรสองตัว วัชระเป็นสัญลักษณ์แทนสมดุลทางอำนาจระหว่างศาสนจักรและอาณาจักร ซึ่งอุบัติขึ้นได้เพราะมีพุทธศาสนาสายวัชรยานคอยค้ำจุน ดอกบัวเป็นตัวแทนของความบริสุทธิ์ดีงาม ดวงแก้ว หมายถึงพระราชอำนาจอันเปี่ยมล้นของพระมหากษัตริย์ มังกรคู่ (ตัวผู้กับตัวเมีย) เป็นที่มาของชื่อดรุ๊กยุล (แผ่นดินมังกรสายฟ้า) ซึ่งเป็นชื่อของประเทศภูฏานในภาษาซงคา

ธนบัตรภูฏาน
ธนบัตรภูฏาน

    สกุลเงินของภูฏาน ซึ่งผูกค่าเงินเป็นอัตราคงที่กับรูปีอินเดีย ซึ่งประมาณ 40 รูปี ต่อ 1 USD และเงินรูปียังสามารถใช้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมายอีกด้วย

สกุลเงินของภูฏานคือ งุลตรัม (Ngultrum) เรียกสั้นๆว่า นู (Nu) โดยค่าเงินของภูฏานผูกไว้กับค่าเงินรูปีของอินเดีย สามารถใช้เงินรูปีซื้อของได้ โดย 1 งุลตรัม = 0.52 บาท ไทย นักท่องเที่ยวควรเตรียมแลกเงินไปให้พร้อม เพราะบางสถานที่ไม่รับบัตรเครดิต

ชุดประจำชาติ

ภูฏานยังคงรักษารูปแบบทางวัฒนธรรมของตัวเองไว้ได้อย่างดี โดยรัฐบาลรณรงค์ให้ชาวภูฏานใส่ชุดประจำชาติเป็นชุดประจำวัน ซึ่งพระราชาธิบดีและพระราชวงศ์ทุกพระองค์ได้ทรงปฏิบัติเป็นแบบอย่าง ดังเช่นภาพที่คนไทยทั้งประเทศได้เห็นและประทับใจในองค์มกุฎราชกุมารของภูฏาน เจ้าชายจิกมี เคซาร์ นัมเกล วังชุก ที่ทรงฉลองพระองค์ด้วยชุดประจำชาติเกือบ

ตลอดเวลาระหว่างที่เสด็จมาร่วมงานในพิธีฉลองสิริราชสมบัติของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวครบ 60 ปี เมื่อเดือนมิถุนายน ค.ศ.2006

ชุดกษัตริย์ภูฏาน

รูปพระราชินีและกษัตริย์ภูฏาน (ผ้าพาดบ่าสีเหลืองจะใช้ได้แค่กษัตริย์และพระสังฆราชเท่านั้น)ทางด้านล่างจะเป็นการแบ่งแยกความแตกต่างของสีของผ้าพาดบ่าหรือแกบเน่กับสถานะทางสังคม

 

ทางด้านล่างจะเป็นการแบ่งแยกความแตกต่างของสีของผ้าพาดบ่าหรือแกบเน่กับสถานะทางสังคม


ตำแหน่ง



ผ้าพาดบ่า


กษัตริย์


สีเหลือง


เจเคนโป (พระสังฆราช)


สีเหลือง


รัฐมนตรี


สีส้ม


ผู้พิพากษา


สีเขียว


ผู้บริหารส่วนท้องถิ่น


สีแดงขลิบขาว


บุคคลธรรมดา


สีขาว


 

ชุดผู้ชายภูฏานเรียกว่า โกะ (Gho)

        หนึ่งในสิ่งที่โดดเด่นเป็นพิเศษของชาวภูฏานคือชุดประจำชาติของพวกเขา เครื่องแต่งกายนี้ได้ถูกพัฒนามายาวนานนับพันปี ผู้ชาย จะสวมใส่ โกะ (Gho) เสื้อคลุมยาวระดับเข่า ผูกด้วยผ้าคาดเอวคล้ายกิโมโนที่เรียกว่า คีร่า (Kera)  กระเป๋าที่อยู่ทางด้านหน้านั้น ในสมัยโบราณมักใช้ใส่ชามอาหารและกริชเล็กๆ อย่างไรก็ตามในปัจจุบันนี้กระเป๋ามักจะใช้ใส่ของเล็กๆ น้อยๆ ตามความเคยชิน เช่น กระเป๋าสตางค์ โทรศัพท์เคลื่อนที่ และโดมา (หมาก)

ชุดผู้หญิงภูฏานเรียกว่า คิร่า (Kira)

        ผู้หญิง จะสวมใส่คิร่า (Kira) เสื้อคลุมยาวถึงข้อเท้าควบคู่ไปกับเสื้อคลุมบางๆ ด้านนอก ที่รู้จักกันในชื่อ เทโก (Tego) และเสื้อด้านในที่รู้จักกันในชื่อ วอนจู (Wonju)ชนเผ่าและกลุ่มพเนจรเหมือนเช่นชาว บรามิส (Bramis) และชาวโบรกพาส (Brokpas) ทางภาคตะวันออกของประเทศภูฏานนั้นจะสวมใส่เสื้อผ้าในรูปแบบที่แตกต่างจากประชากรชาวภูฏาน ชาวโบรกพาส (Brokpas) และชาว บรามิส (Bramis) ทั้งสองสวมใส่เสื้อผ้าที่ทอจากขนของวัวป่า (Yak) หรือขนแกะ

       ชาวภูฏานจะต้องใช้ผ้าพาดบ่าเมื่อต้องไปซอง (Dzongs) และศูนย์กลางการบริหารการจัดการต่างๆ มีหลากหลายสี ซึ่งแต่ละสีจะแสดงถึงสถานภาพทางสังคมของคนคนนั้น ผ้าพาดบ่าที่ผู้ชายใช้นั้นจะถูกเรียกว่า แกบเน่ (Kabney) และที่ผู้หญิงใช้จะถูกเรียกว่า ราชู (Rachus)ราชูจะพันอยู่รอบไหล่ของผู้หญิง แตกต่างจากผ้าพาดบ่าที่ผู้ชายใช้ และไม่มีการแบ่งสถานภาพทางสังคมตามสีของมัน ราชูมักจะทอด้วยไหมดิบและเย็บด้วยลวดลายที่สวยงาม

  • สัตว์ประจำชาติภูฏาน : ทาคิน (Burdorcas taxicolor) เป็นสัตว์ที่หายาก เพราะมีอยู่ในดินแดนภูฏานเพียงแห่งเดียว และอยู่ในสถานะใกล้สูญพันธุ์ เป็นสัตว์ตีนกีบใหญ่และแข็งแรง เหมาะกับการเดินลุยหิมะได้อย่างสะดวกสบาย มีลักษณะคล้ายวัวผสมแพะตัวใหญ่ มีเขา ขนตามตัวมีสีดำ มีน้ำหนักตัวราว 250 กิโลกรัม มักจะอาศัยอยู่กันเป็นฝูงในป่าโปร่ง บนความสูงกว่า 4,000 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลขึ้นไป เป็นสัตว์กินหญ้า เคลื่อนไหวค่อนข้างช้า ร่อนเร่หากินอยู่บนเทือกเขาหิมาลัย สูงกว่าระดับน้ำทะเลประมาณ 1,000 ฟุต ขึ้นไป พบในภูฏาน ทิเบต และทางตะวันออกของจีน ชอบกินไม้ไผ่เป็นอาหาร

  • ทาคิน เป็นสัตว์ในตำนานประวัติศาสตร์ของพุทธศาสนามหายานในภูฏาน มีเรื่องเล่าว่า ลามะจากทิเบตองค์หนึ่ง ชื่อว่า ดรุกปา คุนจี มีฉายาว่า “เทพเจ้าผู้บ้าคลั่ง” เข้ามาเผยแพร่พุทธศาสนาตันตรยานในภูฏานในศตวรรษที่ 15 ได้แสดงอิทธิฤทธิ์ปาฏิหารย์ จนชาวภูฏานถึงกับตกตะลึงมาแล้ว ต่อมา พระลามะองค์นี้ได้สั่งให้ชาวภูฏานนำวัวตัวหนึ่งกับแพะตัวหนึ่งมาถวายเป็นอาหารกลางวัน ลามะท่านนี้กินวัวกับแพะจนเหลือแต่กระดูก แล้วก็หิ้วหัวแพะไปต่อกับโครงกระดูกวัว จากนั้นก็ดีดนิ้วเปาะหนึ่ง พริบตานั้น หัวแพะกับโครงกระดูกวัวนั้น กลายเป็นสัตว์มีนามว่า “ทาคิน” จนกลายเป็นที่เลื่องลือในยุคนั้น และจึงกลายเป็นสัตว์ประจำชาติภูฏานมาจนถึงทุกวันนี้

  • นกประจำชาติภูฏาน : นกราเวน (Corvus corax) ซึ่งจัดอยู่ในตระกูลอีกา มีขนสีดำขลับ และใช้เป็นเครื่องประดับพระมาลาของพระมหากษัตริย์ นอกจากนี้นกราเวนยังเป็นตัวแทนของเทพกมโป จาโรดนเซ้น (ท้าวมหากาฬภาคมีเศียรเป็นอีกา) ซึ่งเป็นหนึ่งในเทพผู้ปกปักรักษาภูฏานที่ทรงเห็นความสำคัญอย่างยิ่งอีกด้วย

  • ต้นไม้ประจำชาติภูฏาน : ต้นสนไซปรัส นิยมปลูกอยู่ตามวัดต่างๆ จำนวนมาก เพราะต้นสนไซปรัส เป็นต้นไม้ที่มีลำต้นตรงดูสง่างาม เข้มแข็งแต่อ่อนน้อม และเป็นต้นไม้ที่เจริญงอกงามได้ทุกสภาพอากาศ ชาวภูฏานได้ชื่อว่าซื่อตรงและแข็งแกร่งเฉกเช่นเดียวกับสนไซปรัส ที่ยืนหยัดและงอกงามได้แม้ในดินที่หาความอุดมสมบูรณ์ไม่ได้เลย

  • ดอกไม้ประจำชาติภูฏาน : ดอกป๊อปปี้สีฟ้า เป็นดอกไม้ป่าที่พบตามเขตภูเขาสูงกว่าระดับน้ำทะเล 1,000 เมตรขึ้นไป ออกดอกปีละครั้งตอนต้นฤดูมรสุม (ระหว่างปลายเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม) เมื่อออกดอกให้เมล็ดแล้วต้นจะตายไป เมล็ดดอกป๊อปปี้สีฟ้ามีน้ำมันมาก ถิ่นที่พบอยู่ในบริเวณทิศตะวันออกของภูฏานไปจนทิศตะวันตกของภูฏาน

  • ประชากรภูฏาน  ภูฏานมีจำนวนประชากรเพียง 752,700 คน ซึ่งมีอัตราการเพิ่มของประชากรร้อยละ 2.14 โดยประกอบด้วย 3 เชื้อชาติ ได้แก่

    1. ชาร์คอป (Sharchops) ชนพื้นเมืองดั้งเดิม ส่วนใหญ่อยู่ทางภาคตะวันออก

    2. งาลอบ (Ngalops) ชนเชื้อสายธิเบต ส่วนใหญ่อยู่ทางภาคตะวันตก

    3. โลซาม (Lhotshams) ชนเชื้อสายเนปาล ส่วนใหญ่อยู่ทางใต้

     

  • ศาสนาภูฏาน  รัฐธรรมนูญของชาวภูฏานได้ให้อิสระในการนับถือศาสนา ประชากรและนักท่องเที่ยวสามารถประกอบพิธีกรรมสักการะได้ทุกรูปแบบตราบเท่าที่มันไม่ได้ส่งผลไม่ดีต่อบุคคลอื่น ชาวคริสต์ ชาวฮินดู และอิสลามยังคงอาศัยอยู่ที่ภูฏานที่ประเทศภูฏานประชากรส่วนใหญ่นับถือ ศาสนาพุทธนิกายวัชรยาน ดังนั้นเมื่อเราเดินทางไปยังประเทศภูฏานจะเห็นว่าจะมีวัดอยู่ทุกที่โดยประชาชนชาวภูฏานนับถือศาสนาพุทธนิกายมหายาน(ตันตรยาน หรือบ้างก็เรียกว่าวัชรยาน) 75% ศาสนาฮินดู 24% ศาสนาอิสลาม 0.7% และศาสนาคริสต์ 0.3%

ที่มา: https://www.gebpowtravel.com
Powered by