วัน - เวลาทำการ :
วันจันทร์ - วันศุกร์ เวลา 09:00 - 17:00 น.
วัน - เวลาทำการ :
วันจันทร์ - วันศุกร์ เวลา 09:00 - 17:00 น.

ประวัติประเทศภูฏาน

ประวัติประเทศภูฏาน
August 20, 2019 by Wow Together Travel

        ประเทศภูฏาน ถูกเชื่อว่าอาศัยอยู่ตั้งแต่ก่อนคริสต์ศักราชกว่า 2000 ปีมาแล้ว เนื่องจากการค้นพบเครื่องมือเครื่องใช้ที่ทำจากหินในยุคสมัยนั้นในบริเวณนั้น เริ่มแรกนั้นเป็นประเทศที่รู้จักกันในหลายชื่ออันประกอบไปด้วย โหลวจง (Lho Jong) ‘หุบเขาแดนใต้’, โหลวมอนคาชิ (Lho Mon kha Shi) ‘ประเทศโดดเดี่ยวแดนใต้ที่เข้าถึงได้ทั้ง 4 ทาง โหลวจงเม็นจง (Lho Jong Men Jong) หุบเขาสมุนไพรแดนใต้’ และโหลวมอนเซ็นเด็นจง (Lho Mon Tsenden Jong) หุบเขาโดดเดี่ยวแดนใต้ที่ซึ่งไม้จันทน์งอกงาม มอน  เป็นคำที่ชาวทิเบตใช้อ้างถึงคนผิวเหลือง ที่ไม่ได้นับถือพุทธศาสนา อาศัยอยู่ทางทิศใต้ของเทือกเขาหิมาลัย

ประเทศภูฏาน
ประเทศภูฏาน

         ศตวรรษที่ 17 ประเทศนี้ได้กลายมาเป็นที่รู้จักในชื่อ ดรุก ยุ(Druk Yul) หรือแผ่นดินของดรุกพาส (Drukpas) ชื่อที่หมายถึง ดรุกพา (Drukpa) นิกายหนึ่งของศาสนาพุทธ ซึ่งได้รับความศรัทธาอย่างโดดเด่นในบริเวณนั้นตั้งแต่ช่วงระยะเวลานั้น  ในช่วงแรกลัทธิโบนเป็นที่รู้จักในประเทศภูฏานอย่างเด่นชัด ศาสนาพุทธเริ่มเป็นที่รู้จักในประเทศภูฏานในศตวรรษที่ 7 โดยพระเจ้าซรอนซันกัมโปกษัตริย์ทิเบตเป็นผู้นำเข้ามาและผู้สนับสนุนที่เข้มแข็ง กูรูริมโปเชผู้นำสงฆ์ที่รู้จักอย่างกว้างขวางในนามของพระพุทธเจ้าองค์ที่ 2

     ชาวพื้นเมืองในพื้นที่นี้ได้ถูกรวบรวมให้เป็นปึกแผ่นครั้งแรกในศตวรรษที่ 17 โดย ซับดรุง นาวาง นัมเกล เขาได้รวบรวมกำลังพลปราบ 3 ผู้รุกรานชาวทิเบต สถาปนาระบบกฎหมายและระบบการปกครองขึ้น แต่ภายหลังจากที่ท่านเสียชีวิต ระบบเหล่านั้นได้ถูกก็ถูกกัดกร่อนด้วยภาวะสงครามและสงครามการเมืองระหว่างผู้ปกครองชาวพื้นเมือง จนกระทั่ง อูเก็น วังชุก ผู้ปกครองหัวเมืองสามารถเข้าควบคุมได้สำเร็จ และด้วยการสนับสนุนของประชาชน เขาได้สถาปนาตัวเองเป็นกษัตริย์ประเทศภูฏานคนแรก ในปีค.ศ. 1907 พระเจ้าแผ่นดินอูเก็น วังชุกได้กลายเป็นสมเด็จพระราชาธิบดีคนแรก (Druk Gyalpo)กษัตริย์แห่งมังกรและราชวงศ์วังชุกก็ปกครองประเทศภูฏานมาจนถึงปัจจุบัน

 

Powered by