วัน - เวลาทำการ :
วันจันทร์ - วันศุกร์ เวลา 09:00 - 17:00 น.
วัน - เวลาทำการ :
วันจันทร์ - วันศุกร์ เวลา 09:00 - 17:00 น.

ขนบธรรมเนียมประเพณีภูฏาน

ขนบธรรมเนียมประเพณีภูฏาน
August 23, 2019 by Wow Together Travel

ประเพณีและวัฒนธรรม

       ขนบธรรมเนียมประเพณี ชาวภูฏาน มีหลายสิ่งหลายอย่างที่ชาวภูฏานประพฤติปฏิบัติไม่เหมือนกับชาติใดในโลก ขนบธรรมเนียมวิถีชีวิตประจำวันนั้นมีพื้นฐานมาจากวิถีชาวพุทธ แบบมหายานสายตันตระ การให้ความสำคัญของหน่วยงานดูแลวัฒนธรรมของชาติ รณรงค์ร่วมมือกับราษฎรทุกภาคส่วน ทั้งชนบทและในเมือง เพื่อรักษาจิตวิญญาณของความเป็นภูฏานไว้ดั่งที่เคยเป็นมายาวนานนับพันปี  ศาสนา ขนบประเพณี และการบูชาบรรพบุรุษประกอบกันขึ้นเป็นธรรมเนียมปฏิบัติแบบภูฏาน ซึ่งเห็นได้เด่นชัดที่สุดในแง่ของการให้ความเคารพนับถือองค์กรศาสนา และการสวมใส่ชุดประจำชาติ (ไม่ว่าเดินทางเข้าสู่ เขตอาราม เขตซ่ง เพื่อกิจราชการ จำเป็นต้องใส่ชุดประจำชาติ) โดยรัฐบาลกำหนดเป็นนโยบายหลัก ควบคู่ไปกับการดูแลสังคม และสิ่งแวดล้อม

  การตั้งชื่อเสียงเรียงนามของชาวภูฏาน

        ชื่อของชาวภูฏาน มีอยู่ไม่กี่ชื่อ แต่ถือเป็นเรื่องชวนปวดหัวไม่น้อย สำหรับเราๆ ไม่ว่าจะเป็นวิธีสะกด วิธีออกเสียง ชื่อบุคคลในภูฏาน จะมีอยู่ราวๆ 50 ชื่อ การมีชื่อซ้ำกันจึงเป็นเรื่องธรรมดามาก แต่การที่ชื่อซ้ำกันไม่ได้หมายความว่าพวกเขาเป็นเครือญาติกันอีกด้วย และนามสกุลก็พึ่งมีขึ้นได้ไม่นานนี้ นามสกุลโดร์จี และวังชุก นั้นมีคนใช้กันมากมาย โดยไม่มีความเกี่ยวพันธ์กับราชสกุลสายใดสายหนึ่งเลยสิ่งที่ทำให้สับสนขึ้นไปอีกคือ ชื่อส่วนใหญ่จะใช้ได้กับทั้งชายและหญิง แต่ก็มีอยู่บ้างบางชื่อที่ให้กับหญิงโดยเฉพาะ ได้แก่ เชอเด็ เชอกี ดิกกี ดรอลมา

  ขนบธรรมเนียมประเพณีชาวภูฏาน (การแสดงความเคารพยกย่อง)

       ให้ความเคารพยกย่องเรื่องลำดับอาวุโส หรือผู้มีที่มีศักดิ์ฐานะสูงกว่าไม่ต่างไปกว่าชาติอื่นในเอเชีย โดยมีวิธีแสดงออกหลายวิธี เช่นยืนอยู่ก็ต้องค้อมตัวลงเล็กน้อย ถ้าอยู่ท่านั่ง ก็นั่งขาตรงชิดติดเก้าอี้ และจะต้องใช้ผ้าสะพายบ่า คลุมหัวเข่าเอาไว้ เวลาพูดต้องเอามือป้องปากไว้จะได้ไม่ทำให้อากาศที่อีกฝ่ายสูดหายใจเข้าไปสกปรกเปรอะเปื้อน และห้ามสูบบุหรี่เด็ดขาด เมื่อจบประโยคต้องลงท้ายด้วยคำว่า “ลา” เพื่อแสดงความเคารพ  ชาวภูฏานจะกราบพระอริยบุคคลสามครั้ง เช่นเดียวกับการกราบพระพุทธรูป เวลาไปที่วัดควรบริจาคเงินเล็กๆ น้อยๆ ทำบุญกับทางวัดบ้าง ห้ามส่งเสียงดัง และต้องถอดรองเท้า ออกเพื่อแสดงความเคารพต่อสถานที่ ร่มและหมวกเป็นของต้องห้าม ทั้งในวัดและในป้อม ชาวภูฏาน ถือว่าศรีษะเป็นของสูงและเท้าเป็นของต่ำ เหมือนคนไทย การนั่งบนพื้นให้นั่งขัดสมาธิหรือพับเพียบไม่นั่งไขว่ห้าง

  การต้อนรับแขกมาเยือนของชาวภูฏาน

      การต้อนรับ มักจะยกน้ำชา หรือสุรา มาให้การต้อนรับ ถ้าเป็นบ้านส่วนตัว ผู้เป็นแขกควรดื่ม (หรือแค่จิบ) เครื่องดื่มที่เจ้าของบ้านยกมาให้อย่างน้อยสองถ้วย  การได้รับเชิญไปทานข้าวที่บ้าน ของชาวภูฏาน อาจจะการเริ่มต้นด้วย เครื่องดื่ม ค็อกเทล ก่อน ซึ่งกว่าจะทานอาหารมื้อนานเสร็จ อาจจะยืดเยื้อมากกว่าชั่วโมง ทั้งนี้จะตั้งใจกินกันอย่างอร่อย โดยไม่คุยกันเลย เมื่อกินเสร็จแขกจะไม่มีการคุยสัพเพเหระกันต่อเหมือน ชาวตะวันตก แต่จะลุกปุบปับ กลับบ้านเลยโดยไม่ลังเล กฏนี้ใช้กับงานเลี้ยงแบบทางการด้วย โดยที่แขกผู้มีเกียรติจะต้องเป็นผู้ให้สัญญาณว่าถึงเวลากลับแล้ว

  ขนบธรรมเนียมประเพณี ชาวภูฏาน กับประเพณี 1 ครอบครัวหลายคู่ครอง

         พระมเหสีทั้งสี่ของรัชกาลที่ 4 ภูฏาน“การแต่งงานของชาวภูฏานนั้น ตั้งแต่ดั้งเดิม ผู้ชายสามารถมีภรรยาหลายคนได้ และผู้หญิงก็สามารถมีสามีได้หลายคนเช่นกัน แต่จะต้องมาจากครอบครัวเดียวกัน นอกจากนี้จะไม่มีการแบ่งว่าใครเป็นหลวงเป็นน้อย ทุกคนจะมีฐานะเท่าเทียมกันหมด อย่างเช่นพระราชบิดาของเจ้าชายจิกมีเอง ก็มีพระราชินีถึง 4 พระองค์ ซึ่งล้วนแต่เป็นพี่น้องกันทั้งสิ้น เจ้าชายจิกมีเองทรงประสูติจากพระราชินีองค์ที่ 3 คือสมเด็จพระราชินีเชอร์ริง ยังดน วังชุก แต่เป็นพระราชโอรสพระองค์แรก จึงได้เป็นผู้สืบราชสมบัติต่อจากพระราชบิดา และเจ้าชายจิกมีเองก็ทรงเรียกพระราชินีว่าแม่ทั้งสิ้น คนภูฏานมีสายสัมพันธ์ทางครอบครัวค่อนข้างลึกซึ้ง และซับซ้อนมาก ซึ่งสาเหตุที่ประเพณีเขาเป็นแบบนี้ ก็เพราะสมัยก่อนเขาค่อนข้างลำบาก การแต่งงานเป็นครอบครัวจึงต้องมีหลายคน จะได้สามารถช่วยกันดูแล และทำมาหากินกันได้ และไม่มีปัญหากันด้วย เพราะเขาไม่ถือว่าเป็นการนอกใจ ทุกคนล้วนต้องมาจากการแต่งงาน และต้องเป็นคนในครอบครัวเดียวกัน ประเพณีนี้จึงไม่ถือว่าผิดศีล เพราะไม่ได้ไปผิดลูกเมียคนอื่น คนภูฏานจะอยู่รวมกันไม่มีแยกบ้าน เลยมีหลายคนอยู่รวมกัน ผู้ชายเวลาแต่งงาน ก็จะแต่งทั้งพี่และน้องไป

  ศิลปวัฒนธรรม ชาวภูฏาน

       ชาวภูฏานนับถือศาสนาพุทธตันตระ-วัชรยาน ทำให้ศิลปวัฒนธรรมตลอดจนการดำเนินชีวิตได้รับอิทธิพลมาจากศาสนาทั้งสิ้น ภูฏานเป็นประเทศที่อยู่กลางหุบเขา ล้อมรอบด้วยธรรมชาติ มีความเป็นชนบท ผู้คนจึงใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย สมถะ วัฒนธรรมภูฏาน เรียกได้ว่ามีเสน่ห์ดึงดูดให้นักท่องเที่ยวจากทั่วโลกมาเยือนที่นี่เพิ่มขึ้นทุกปี

วัฒนธรรมการไหว้

         ประเทศที่นับถือศาสนาพุทธ มักจะมีวัฒนธรรมการไหว้มาจากประเทศอินเดีย ชาวภูฏานจะไหว้อย่างอ่อนน้อมถ่อมตน ส่วนการไหว้พระพุทธรูปและสิ่งศักดิ์สิทธิ์เป็นการกราบแบบ “อัษฎางคประดิษฐ์” ซึ่งเป็นการกราบโดยนอนราบให้อวัยวะส่วนสำคัญสัมผัสกับพื้นทั้ง 8 ส่วน ได้แก่ มือทั้งสอง เข่าทั้งสอง เท้าทั้งสอง ลำตัว และหน้าผาก จากนั้นลุกขึ้นมาใหม่โดยไม่ยกเท้าออกจากพื้น

 

 

 

 

ที่มา: https://nittaya166.wordpress.com/about/

 

ความเชื่อของชาวภูฏาน

       การพับปลาทองนำโชคไปภูฏาน  ทำคำอธิษฐานให้เป็นจริง ตามความเชื่อของชาวภูฏาน ปลาทองหรือที่ชาวภูฏานเรียกกันว่า เซินย่า (Sernya – รูปปลาทองคู่) เป็นสัญลักษณ์ของความมีโชคลาภในศาสนาพุทธ และ ฮินดู ปลาซึ่งหมายถึงการมีชีวิตที่เป็นอิสระ (การเลือกเกิด) และสายตาที่แหลมคม (การหยั่งรู้)

 

 

ชาวภูฏาน มีสัญลักษณ์ความเชื่อหลายชนิด เช่น ปลาคู่ แจกันสมบัติ คือ พระธรรม และธงชัย เป็นต้น โดยเฉพาะธงชัยเป็นเครื่องหมายชนะมาร รวมทั้งสิ่งชั่วร้ายทั้งปวง ก่อนที่พระพุทธศาสนาจะตั้งมั่นในภูฏานต้องสู้กับภูติผีปีศาจมากมาย แม้ชาวศรีลังกา และชาวไทยวนก็นิยมใช้ธงชัยนี้ ในพุทธพิธีเช่นเดียวกัน แต่เรียกว่า พระบฏ ซึ่งจะจารึกหลักธรรมไว้บนแผ่นผ้า แล้วติดไว้เป็นทิวในพุทธสถาน เพื่อเป็นการประกาศหลักธรรมให้ลอยไปกับสายลม หรือป้องกันปีศาจนั้นเอง……

ที่มา: https://www.bhutancenter.com/culture/

 

 

Powered by