สัญลักษณ์ประจำชาติภูฏาน
เพลงชาติ : เพลงชาติของภูฏานแต่งขึ้นอย่างเป็นทางการในปี ค.ศ.1966 เนื้อความท่อนแรกเพลงชาติของภูฏานแปลความได้ว่า “ในแผ่นดินมังกร แดนสนไซเปรสแดงทางทิศใต้ ขอพระมหากษัตริย์ผู้ทรงทำนุบำรุงแผ่นดินและพระศาสนา จงทรงพระเจริญยิ่งยืนนานเทอญ”
ธงชาติภูฏาน ท่านมายุม โชยิง วังโม โดร์จี ได้คิดประดิษฐ์ธงชาติภูฏานขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1947 และในปี ค.ศ. 1956 ก็ได้ปรับเปลี่ยนธงใหม่จนมีรูปลักษณ์ดังเช่นในปัจจุบัน
สีเหลือง ครึ่งบนของธงชาติ หมายถึง อำนาจของพระมหากษัตริย์ เป็นสีที่แสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองทั้งทางโลกและทางธรรม
สีส้ม ครึ่งล่างของธงชาติ หมายถึง การปฏิบัติธรรมและความเลื่อมใสและศรัทธาของชาวภูฏานที่มีต่อศาสนาพุทธ
มังกรที่อยู่ตรงกลางของธงชาติ หมายถึง ประเทศดรุกยุล มีความหมายว่าดินแดนแห่งมังกรสายฟ้า ตัวมังกรมีสีขาวบริสุทธิ์ อันเป็นการแสดงออกถึงความจงรักภักดีของคนทุกเชื้อชาติ ทุกภาษาที่อยู่ในประเทศ ท่าทีที่มังกรกำลังอ้าปากคำรามนั้น แสดงออกถึงความมีอำนาจน่าเกรงขามของเหล่าพระผู้เป็นเจ้าทั้งชายและหญิงที่ปกป้องภูฏาน
ตราแผ่นดินภูฏาน ตราแผ่นดินของภูฏานเป็นรูปวงกลม ทำเป็นรูปดอกบัวรองรับวัชระและดวงแก้ว สองข้างขนาบด้วยมังกรสองตัว วัชระเป็นสัญลักษณ์แทนสมดุลทางอำนาจระหว่างศาสนจักรและอาณาจักร ซึ่งอุบัติขึ้นได้เพราะมีพุทธศาสนาสายวัชรยานคอยค้ำจุน ดอกบัวเป็นตัวแทนของความบริสุทธิ์ดีงาม ดวงแก้ว หมายถึงพระราชอำนาจอันเปี่ยมล้นของพระมหากษัตริย์ มังกรคู่ (ตัวผู้กับตัวเมีย) เป็นที่มาของชื่อดรุ๊กยุล (แผ่นดินมังกรสายฟ้า) ซึ่งเป็นชื่อของประเทศภูฏานในภาษาซงคา
สกุลเงินของภูฏาน ซึ่งผูกค่าเงินเป็นอัตราคงที่กับรูปีอินเดีย ซึ่งประมาณ 40 รูปี ต่อ 1 USD และเงินรูปียังสามารถใช้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมายอีกด้วย
สกุลเงินของภูฏานคือ งุลตรัม (Ngultrum) เรียกสั้นๆว่า นู (Nu) โดยค่าเงินของภูฏานผูกไว้กับค่าเงินรูปีของอินเดีย สามารถใช้เงินรูปีซื้อของได้ โดย 1 งุลตรัม = 0.52 บาท ไทย นักท่องเที่ยวควรเตรียมแลกเงินไปให้พร้อม เพราะบางสถานที่ไม่รับบัตรเครดิต
ชุดประจำชาติ
ภูฏานยังคงรักษารูปแบบทางวัฒนธรรมของตัวเองไว้ได้อย่างดี โดยรัฐบาลรณรงค์ให้ชาวภูฏานใส่ชุดประจำชาติเป็นชุดประจำวัน ซึ่งพระราชาธิบดีและพระราชวงศ์ทุกพระองค์ได้ทรงปฏิบัติเป็นแบบอย่าง ดังเช่นภาพที่คนไทยทั้งประเทศได้เห็นและประทับใจในองค์มกุฎราชกุมารของภูฏาน เจ้าชายจิกมี เคซาร์ นัมเกล วังชุก ที่ทรงฉลองพระองค์ด้วยชุดประจำชาติเกือบ
ตลอดเวลาระหว่างที่เสด็จมาร่วมงานในพิธีฉลองสิริราชสมบัติของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวครบ 60 ปี เมื่อเดือนมิถุนายน ค.ศ.2006
ชุดกษัตริย์ภูฏาน
รูปพระราชินีและกษัตริย์ภูฏาน (ผ้าพาดบ่าสีเหลืองจะใช้ได้แค่กษัตริย์และพระสังฆราชเท่านั้น)ทางด้านล่างจะเป็นการแบ่งแยกความแตกต่างของสีของผ้าพาดบ่าหรือแกบเน่กับสถานะทางสังคม
ทางด้านล่างจะเป็นการแบ่งแยกความแตกต่างของสีของผ้าพาดบ่าหรือแกบเน่กับสถานะทางสังคม
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ชุดผู้ชายภูฏานเรียกว่า โกะ (Gho)
หนึ่งในสิ่งที่โดดเด่นเป็นพิเศษของชาวภูฏานคือชุดประจำชาติของพวกเขา เครื่องแต่งกายนี้ได้ถูกพัฒนามายาวนานนับพันปี ผู้ชาย จะสวมใส่ โกะ (Gho) เสื้อคลุมยาวระดับเข่า ผูกด้วยผ้าคาดเอวคล้ายกิโมโนที่เรียกว่า คีร่า (Kera) กระเป๋าที่อยู่ทางด้านหน้านั้น ในสมัยโบราณมักใช้ใส่ชามอาหารและกริชเล็กๆ อย่างไรก็ตามในปัจจุบันนี้กระเป๋ามักจะใช้ใส่ของเล็กๆ น้อยๆ ตามความเคยชิน เช่น กระเป๋าสตางค์ โทรศัพท์เคลื่อนที่ และโดมา (หมาก)
ชุดผู้หญิงภูฏานเรียกว่า คิร่า (Kira)
ผู้หญิง จะสวมใส่คิร่า (Kira) เสื้อคลุมยาวถึงข้อเท้าควบคู่ไปกับเสื้อคลุมบางๆ ด้านนอก ที่รู้จักกันในชื่อ เทโก (Tego) และเสื้อด้านในที่รู้จักกันในชื่อ วอนจู (Wonju)ชนเผ่าและกลุ่มพเนจรเหมือนเช่นชาว บรามิส (Bramis) และชาวโบรกพาส (Brokpas) ทางภาคตะวันออกของประเทศภูฏานนั้นจะสวมใส่เสื้อผ้าในรูปแบบที่แตกต่างจากประชากรชาวภูฏาน ชาวโบรกพาส (Brokpas) และชาว บรามิส (Bramis) ทั้งสองสวมใส่เสื้อผ้าที่ทอจากขนของวัวป่า (Yak) หรือขนแกะ
ชาวภูฏานจะต้องใช้ผ้าพาดบ่าเมื่อต้องไปซอง (Dzongs) และศูนย์กลางการบริหารการจัดการต่างๆ มีหลากหลายสี ซึ่งแต่ละสีจะแสดงถึงสถานภาพทางสังคมของคนคนนั้น ผ้าพาดบ่าที่ผู้ชายใช้นั้นจะถูกเรียกว่า แกบเน่ (Kabney) และที่ผู้หญิงใช้จะถูกเรียกว่า ราชู (Rachus)ราชูจะพันอยู่รอบไหล่ของผู้หญิง แตกต่างจากผ้าพาดบ่าที่ผู้ชายใช้ และไม่มีการแบ่งสถานภาพทางสังคมตามสีของมัน ราชูมักจะทอด้วยไหมดิบและเย็บด้วยลวดลายที่สวยงาม
สัตว์ประจำชาติภูฏาน : ทาคิน (Burdorcas taxicolor) เป็นสัตว์ที่หายาก เพราะมีอยู่ในดินแดนภูฏานเพียงแห่งเดียว และอยู่ในสถานะใกล้สูญพันธุ์ เป็นสัตว์ตีนกีบใหญ่และแข็งแรง เหมาะกับการเดินลุยหิมะได้อย่างสะดวกสบาย มีลักษณะคล้ายวัวผสมแพะตัวใหญ่ มีเขา ขนตามตัวมีสีดำ มีน้ำหนักตัวราว 250 กิโลกรัม มักจะอาศัยอยู่กันเป็นฝูงในป่าโปร่ง บนความสูงกว่า 4,000 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลขึ้นไป เป็นสัตว์กินหญ้า เคลื่อนไหวค่อนข้างช้า ร่อนเร่หากินอยู่บนเทือกเขาหิมาลัย สูงกว่าระดับน้ำทะเลประมาณ 1,000 ฟุต ขึ้นไป พบในภูฏาน ทิเบต และทางตะวันออกของจีน ชอบกินไม้ไผ่เป็นอาหาร
ทาคิน เป็นสัตว์ในตำนานประวัติศาสตร์ของพุทธศาสนามหายานในภูฏาน มีเรื่องเล่าว่า ลามะจากทิเบตองค์หนึ่ง ชื่อว่า ดรุกปา คุนจี มีฉายาว่า “เทพเจ้าผู้บ้าคลั่ง” เข้ามาเผยแพร่พุทธศาสนาตันตรยานในภูฏานในศตวรรษที่ 15 ได้แสดงอิทธิฤทธิ์ปาฏิหารย์ จนชาวภูฏานถึงกับตกตะลึงมาแล้ว ต่อมา พระลามะองค์นี้ได้สั่งให้ชาวภูฏานนำวัวตัวหนึ่งกับแพะตัวหนึ่งมาถวายเป็นอาหารกลางวัน ลามะท่านนี้กินวัวกับแพะจนเหลือแต่กระดูก แล้วก็หิ้วหัวแพะไปต่อกับโครงกระดูกวัว จากนั้นก็ดีดนิ้วเปาะหนึ่ง พริบตานั้น หัวแพะกับโครงกระดูกวัวนั้น กลายเป็นสัตว์มีนามว่า “ทาคิน” จนกลายเป็นที่เลื่องลือในยุคนั้น และจึงกลายเป็นสัตว์ประจำชาติภูฏานมาจนถึงทุกวันนี้
นกประจำชาติภูฏาน : นกราเวน (Corvus corax) ซึ่งจัดอยู่ในตระกูลอีกา มีขนสีดำขลับ และใช้เป็นเครื่องประดับพระมาลาของพระมหากษัตริย์ นอกจากนี้นกราเวนยังเป็นตัวแทนของเทพกมโป จาโรดนเซ้น (ท้าวมหากาฬภาคมีเศียรเป็นอีกา) ซึ่งเป็นหนึ่งในเทพผู้ปกปักรักษาภูฏานที่ทรงเห็นความสำคัญอย่างยิ่งอีกด้วย
ต้นไม้ประจำชาติภูฏาน : ต้นสนไซปรัส นิยมปลูกอยู่ตามวัดต่างๆ จำนวนมาก เพราะต้นสนไซปรัส เป็นต้นไม้ที่มีลำต้นตรงดูสง่างาม เข้มแข็งแต่อ่อนน้อม และเป็นต้นไม้ที่เจริญงอกงามได้ทุกสภาพอากาศ ชาวภูฏานได้ชื่อว่าซื่อตรงและแข็งแกร่งเฉกเช่นเดียวกับสนไซปรัส ที่ยืนหยัดและงอกงามได้แม้ในดินที่หาความอุดมสมบูรณ์ไม่ได้เลย
ดอกไม้ประจำชาติภูฏาน : ดอกป๊อปปี้สีฟ้า เป็นดอกไม้ป่าที่พบตามเขตภูเขาสูงกว่าระดับน้ำทะเล 1,000 เมตรขึ้นไป ออกดอกปีละครั้งตอนต้นฤดูมรสุม (ระหว่างปลายเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม) เมื่อออกดอกให้เมล็ดแล้วต้นจะตายไป เมล็ดดอกป๊อปปี้สีฟ้ามีน้ำมันมาก ถิ่นที่พบอยู่ในบริเวณทิศตะวันออกของภูฏานไปจนทิศตะวันตกของภูฏาน
ประชากรภูฏาน ภูฏานมีจำนวนประชากรเพียง 752,700 คน ซึ่งมีอัตราการเพิ่มของประชากรร้อยละ 2.14 โดยประกอบด้วย 3 เชื้อชาติ ได้แก่
ชาร์คอป (Sharchops) ชนพื้นเมืองดั้งเดิม ส่วนใหญ่อยู่ทางภาคตะวันออก
งาลอบ (Ngalops) ชนเชื้อสายธิเบต ส่วนใหญ่อยู่ทางภาคตะวันตก
โลซาม (Lhotshams) ชนเชื้อสายเนปาล ส่วนใหญ่อยู่ทางใต้
ศาสนาภูฏาน รัฐธรรมนูญของชาวภูฏานได้ให้อิสระในการนับถือศาสนา ประชากรและนักท่องเที่ยวสามารถประกอบพิธีกรรมสักการะได้ทุกรูปแบบตราบเท่าที่มันไม่ได้ส่งผลไม่ดีต่อบุคคลอื่น ชาวคริสต์ ชาวฮินดู และอิสลามยังคงอาศัยอยู่ที่ภูฏานที่ประเทศภูฏานประชากรส่วนใหญ่นับถือ ศาสนาพุทธนิกายวัชรยาน ดังนั้นเมื่อเราเดินทางไปยังประเทศภูฏานจะเห็นว่าจะมีวัดอยู่ทุกที่โดยประชาชนชาวภูฏานนับถือศาสนาพุทธนิกายมหายาน(ตันตรยาน หรือบ้างก็เรียกว่าวัชรยาน) 75% ศาสนาฮินดู 24% ศาสนาอิสลาม 0.7% และศาสนาคริสต์ 0.3%
ที่มา: https://www.gebpowtravel.com